วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

การบ้าน

ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่ง กำลังพิจารณาทำสัญญาสั่งซื้อปลาแซลมอนจากต่างประเทศ เพื่อมาจำหน่ายในซุปเปอร์มาเก็ตของทางห้าง ซึ่งปลาแซลมอนที่สั่งมาจะนำมาขายเป็นกิโลกรัม ซึ่งราคาต้นทุนและรวมค่าจัดส่งต่างๆเป็นกิโลกรัมละ550บาท และนำมาขายในกิโลกรัมละ820 บาทท โดยจะจัดส่งทุกสัปดาห์ตามที่จำนวนที่ทำสัญญาตกลงกันไว้ ปลาแซลมอนที่สั่งมาขายจะขายไม่หมดซึ่งทำให้ปลาเน่าและเสียง่ายจึงจำเป็นต้องทิ้งไป ห้างฯ กำลังพิจารณาว่าจะทำสัญญาสั่งซื้อสัปดาห์ 30 กิโลกรัม  40 กิโลกรัม 60 กิโลกรัม 80 กิโลกรัม จะดีที่สุด   เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นและมีผลต่อผลตอบแทนของทางเลือกต่างๆ ได้แก่ 
ความต้องการของลูกค้า โดยคาดว่าความต้องการของลูกค้าอยู่ในระดับต่างๆ กัน คือ 30, 40, 50, 60, 70และ80 กิโลกรัม

วิธีคิด
ทางเลือกที่ 1 สั่งซื้อ 30 กิโลกรัม
ต้นทุนเท่ากับ 550 x 30 =16500 บาท
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ30 จะได้กำไร  = (820x30) – 16500
                                                         =  24600-16500
                                                         = 8100
ห้างไม่สามารถตอบสนองความต้องการมากกว่า 30 กิโลกรัม ดังนั้น กำไรก็มีเพียง 8100 บาท
ทางเลือกที่ 2 สั่งซื้อ 40 กิโลกรัม
ต้นทุนเท่ากับ 550x 40 = 22000 บาท
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 30 จะได้กำไร  = (820x30) – 22000  =2600
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 40 จะได้กำไร  = (820x40) – 22000 = 10800
ห้างไม่สามารถตอบสนองความต้องการมากกว่า 40 เครื่อง ดังนั้น กำไรก็มีเพียง 10800 บาท





ทางเลือกที่ 3 สั่งซื้อ  60กิโลกรัม
ต้นทุนเท่ากับ 550x50 = 27500 บาท
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 30 จะได้กำไร  = (820x30) – 27500  =   -2900
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 40 จะได้กำไร  = (820x40) – 27500 = 5300
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 50 จะได้กำไร  = (820x50) – 27500 = 13500
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 60 จะได้กำไร  = (820x60) – 27500 =  21700
ห้างไม่สามารถตอบสนองความต้องการมากกว่า 60 เครื่อง ดังนั้น กำไรก็มีเพียง 21700 บาท
ทางเลือกที่ 4 สั่งซื้อ 80 กิโลกรัม
ต้นทุนเท่ากับ 550x80 = 44000 บาท
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 30 จะได้กำไร  = (820x30) – 44000  =   -19400
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 40 จะได้กำไร  = (820x40) – 44000 =   -11200
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 50 จะได้กำไร  = (820x50) – 44000 =  -3000
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 60 จะได้กำไร  = (820x60) – 44000 =  5200
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 70 จะได้กำไร  = (820x70) – 44000 = 13400
ถ้าลูกค้าต้องการซื้อ 80 จะได้กำไร  = (820x80) – 44000  =  21600
ห้างไม่สามารถตอบสนองความต้องการมากกว่า 80กิโลกรัม ดังนั้น กำไรก็มีเพียง 21600บาท








เมทริกซ์การตัดสินใจ


กำไร
สั่งซื้อ
30

40
50
60
70
80
30
16500
16500
16500
16500
16500
16500
40
2600
10800
13500
13500
13500
13500
60
-2900
5300
13500
21700
21700
21700
80
-19400
-11200
-3000
5200
13400
21600

วิเคราะห์การตัดสินใจ
เลือกที่จะลงทุนซื้อ 40 กิโลกรัมต่อ สัปดาห์ เพราะได้กำไร และไม่มีโอกาสขาดทุนเลย


ตัวอย่างรูปภาพ

วันพฤหัสบดีที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Decision Tree เกี่ยวข้องกับ การตัดสินใจอย่างไร

การเรียนรู้ด้วย Decision tree เป็นการเรียนรู้จากการคาดคะเนเหตุการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น  สามารถเข้ามาช่วยในการตัดสินใจได้ ทำให้เรามีทางเลือกที่ให้พ้นจากความเสี่ยงน้อยลง  อาศัยเงื่อนไขเป็นตัวช่วยในการตัดสินใจว่าเมื่อมีเหตุการณ์ใดๆขึ้น จะแสดงผลออกมาอย่างไร ¨การคาดคะเนจะถูกนำเสนอด้วยรูปแบบการตัดสินใจ (if/then/else) 
 เป็นแบบจำลอง การตัดสินใจ Decision tree    



 - ตารางตัดสินใจ (Decision Table) เป็นตารางการตัดสินใจอย่างง่าย แก้ปัญหาที่ไม่มีความซับซ้อน มีทางเลือกในการตัดสินใจไม่มากนัก

- แผนภาพต้นไม้การตัดสินใจ (Decision Tree) ใช้โครงสร้างต้นไม้ (Tree) เป็นแบบจำลองในการตัดสินใจ ซึ่ง Decision Tree มีองค์ประกอบ คือ Root node หมายถึง node ตัวแรกด้านบน สามารถแตกกิ่งก้านสาขา ที่เราเรียกว่า Branch ซึ่งจะมี Left Branch กับ Right Branch ทั้ง 2 Branch สามารถขยาย (Expansion) ลูก ๆ ของตนเองออกไปได้อีก ซึ่งลูกของ Branch จะเรียกว่า Child ส่วน node ที่อยู่ level ท้ายสุด เราจะเรียกว่า Leaf node Decision Tree จะใช้แก้ปัญหาง่าย ๆ ที่มีเงื่อนไขไม่มาก ไม่ซับซ้อน เพื่อให้เห็นภาพข้อมูลสำหรับตัดสินใจได้ง่ายขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2556

คำตอบคำถามที่1

การตัดสินใจเกี่ยวข้องกับ information technology หรือไม่ หากเกี่ยวข้องจะเกี่ยวข้องอย่างไร 


    การตัดสินใจเกี่ยวกับ information technologyแน่นอนเพราะว่าในยุคของไอทีนี้ต้องมีข้อมูลในการพัฒนาและการต่อยอดเพื่อให้ได้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น  และการพัฒนาและการต่อยอดนั้นต้องมีข้อมูลมาเปรียบเทียบมากมายเราต้องดูว่าข้อมูลไหนใกล้เคียงหรือข้อมูลไหนมีความน่าจะเป็นไปได้  และในปัจจุบันนี้การแข่งขันในการพัฒนาด้านไอทีสูง   ในชั่วพริบตาก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆเปิดตัวพร้อมใช้งาน  และในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมานั้นต้องมีการวิเคราะห์ระบบให้ดีและเลือกที่จะตัดสินใจให้ถูกทาง  และในบางครั้งการที่เราจะสร้างเทคโนโลยีขึ้นมาใหม่อีกก็จะต้องคิดแล้วว่าควรจะสร้างอะไรและรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องไว้ให้ได้มากที่สุดและผู้พัฒนาจะต้องมีความรู้มากพอสมควรเพื่อที่จะทำการตัดสินใจเลือกข้อมูลนั้นๆมากใช้เพื่อที่จะสร้างเทคโนโลยีในทันสมัยอยู่ตลอดเวลา  ยกตัวอย่างการที่เราจะสร้างแท็บเล็ตขึ้นมา เราต้องต้องวางแผนรูปลักษณะเป็นอย่างไรก็ต้องตัดสินใจว่าจะเอาแบบไหน แบบไหนจะดึงดูดลูกค้าได้ดีที่สุดและจำได้ง่ายที่สุด จากนั้นก็จะมาเก็บข้อมูลในการทำฐานข้อมูลและทำออกมาเป็นตัวเครื่อง  หรือในรูปแบบของธุรกิจจะต้องมีการแข่งขันกันสูงการตัดสินใจที่จะเลือกทำไรต้องดูผลที่ได้รับตามมาด้วยซึ่งการตัดสินใจนี้เป็นหลักสำคัญสำหรับการเริ่มต้นที่จะทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ผลที่ตามมานั้นดีที่สุด
และการตัดสินใจนั้นมีผลระยะยาวเพราะถ้าได้ตัดสินใจแล้วและลงมือทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะกลับมาแก้ไขยาก
ดังนั้นการตัดสินใจเกี่ยวกับการทำหรือการหาข้อมูลเกี่ยวกับ information technology นั้นจะต้องมีความถูกต้องและมีประสิทธิภาพที่ดี และสามารถประมวลผลได้เป้นอย่างดีเพื่อที่จะไม่มีผลกระทบตามมาทีหลังเพราะถ้าหากต้องแก้ไขก็มีความยากมากยิ่งขึ้นเพราะต้องดูตั้งแต่เริ่มต้น  และการตัดสินใจจะต้องทีหลักการในการตัดสินใจคิดเป้นกระบวนการวางแผนอย่างระเอียดและต้องรอบครอบด้วย

hello

สวัสดีวิชา ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี